เมนู

[อรรถาธิบายคำว่า เวรญฺชยํ วิหรติ]


ก็พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เวรญฺชายํ วิหรติ นี้ ดังต่อไปนี้ :-
คำว่า เวรญฺชายํ นี้ เป็นชื่อเมืองใดเมืองหนึ่ง. ในเมืองเวรัญชานั้น. คำว่า
เวรญฺชายํ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถว่าใกล้. คำว่า วิหรติ เป็นการ
แสดงถึงความเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยธรรมเครื่องอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดา
ธรรมเครื่องอยู่คืออริยาบถวิหาร ทิพพวิหาร พรหมวิหาร และอริยวิหาร
โดยไม่แปลกกัน. แต่ในที่นี้แสดงถึงการประกอบด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง
บรรดาอิริยาบทมีประเภท คือ การยืน การเดิน การนั่ง และการนอน.
เพราะฉะนั้น พระผู้พระภาคเจ้าประทับยืนอยู่ก็ดี เสด็จดำเนินไปก็ดี ประทับ
นั่งอยู่ก็ดี บรรทมอยู่ก็ดี บัณฑิตพึงทราบว่า เสด็จประทับอยู่ทั้งนั้น. จริงอยู่
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงบำบัดความลำบากแห่งอิริยาบทอย่างหนึ่ง
ด้วยอิริยาบทอีกอย่างกนึ่ง ทรงนำ คือทรงยังอัตภาพให้เป็นไปมิให้ทรุดโทรม
เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า เสด็จประทับอยู่.

[อรรถาธิบายคำว่า นเฬรุปุจิมนฺทมูเล เป็นต้น]


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า นเฬรุปุจิมนฺทมูเล นี้ ดังต่อไปนี้ :
ยักษ์ชื่อ นเฬรุ. ต้นสะเดาชื่อว่า ปุจิมันทะ. บทว่า มูลํ แปลว่า
ที่ใกล้. จริงอยู่ มูลศัพท์นี้ ย่อมปรากฏในรากเหง้า ในคำทั้งหลายมีอาทิเช่นว่า
พึงขุดรากเง้าทั้งหลาย โดยที่สุดแม้เพียงแฝกและอ้อ. ในเหตุอันไม่ทั่วไปใน
คำมีอาทิว่า ความโลภ เป็นอกุศลมูล. ในที่ใกล้ ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า
เงาย่อมแผ่ไปในเวลาเที่ยง, ใบไม้ทั้งหลายย่อมตกไปในเวลาปราศจากลม ได้
เพียงใด ด้วยที่เพียงเท่านี้ ชื่อว่ารุกขมูล (โคนต้นไม้). แต่ในบทว่า มูเล
นี้ ท่านประสงค์เอาที่ใกล้. เพราะฉะนั้น พึงเห็นใจความในคำนี้ อย่างนี้ว่า

ที่ใกล้ต้นไม้สะเดาอันนเฬรุยักษ์สิงแล้ว. ได้ยินว่า ต้นสะเดานั้นน่ารื่นรมย์
น่าเลื่อมใส ทำท่าเหมือนเป็นเจ้าใหญ่แห่งต้นไม้มากมาย มีอยู่ในที่ ซึ่งถึง
พร้อมด้วยทางไปมาไม่ไกลเมืองนั้น.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปเมืองเวรัญชา เมื่อจะประทับ
อยู่ในสถานอันสมควร จึงประทับอยู่ ณ ที่ใกล้ คือ ส่วนภายใต้แห่งต้นไม้นั้น.
เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีจึงกล่าวว่า เสด็จประทับอยู่ที่โคนต้นสะเดาที่
นเฬรุยักษ์สิงอยู่ ใกล้เมืองเวรัญชา. หากจะมีคำทักท้วงในข้อนั้นว่า ถ้าพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เมืองเวรัญชาก่อน, คำว่า ที่โคนต้นสะเดาซึ่ง
นเฬรุยักษ์สิงอยู่ อันพระอุบาลีเถระไม่ควรกล่าว ถ้าเสด็จประทับอยู่ที่โคนต้น
สะเดาซึ่งนเฬรุยักษ์สิงอยู่นั้น, คำว่า ที่เมืองเวรัญชา ท่านก็ไม่ควรกล่าว,
เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่อาจเสด็จประทับอยู่ในสองตำบลพร้อม ๆ กัน
โดยสมัยเดียวกันนั้นได้. แต่คำว่า เวรญฺชายํ วิหรติ นเฬรุปุจิมนฺทมูเล
นั้น บัณฑิตไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย, ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วมิใช่หรือว่า บทว่า
เวรญฺชายํ เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถว่าใกล้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า เมื่อเสด็จประทับอยู่ที่โคนต้นสะเดา ซึ่งนเฬรุยักษ์สิง ในที่ใกล้
แห่งเมืองเวรัญชา พระอุบาลีเถระจึงกล่าวว่า เสด็จประทับอยู่ที่โคนต้นสะเดา
ซึ่งนเฬรุยักษ์สิงใกล้เมืองเวรัญชา แม้ในพระบาลีประเทศนี้ เหมือนอย่างฝูงโค
ทั้งหลาย เมื่อเที่ยวไปในที่ใกล้แห่งแม่น้ำคงคาและยมุนาเป็นต้น ชนทั้งหลาย
ย่อมกล่าวว่า เที่ยวไปใกล้แม้น้ำคงคา เที่ยวไปใกล้แม้น้ำยมุนา ฉะนั้น.

[อธิบายคำว่า เวรญฺชายํ และ นเฬรุปุจิมนฺทมูเล]


ในคำว่า เวรญฺชายํ วิหรติ นเฬรุปุจิมนฺทมูเล นี้ บัณฑิตพึง
ทราบอรรถโยชนา โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า จริงอยู่ คำว่า เวรัญชา มีอัน